เครื่องปั้นดินเผา

ภูมิปัญญาท้องถิ่น เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ ตำบลบ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์

เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ
           
                         เป็นภูมิปัญญาที่มีมรดกตกทอดมากกว่า  200 ปี เป็นชุมชนชาวมอญที่ได้
อพยพมาจากอำเภอ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี    ทรัพยากรดินที่ชุมชนบ้านมอญได้มาตั้ง
ถิ่นฐานมีจำนวนมากที่จะประกอบอาชีพการทำเครื่องปั้นดินเผาได้    จึงได้สืบทอดการ
ทำเครื่องปั้นดินเผาจนเป็นภูมิปัญญาการทำเครื่องปั้นดินเผาได้
 จึงได้สืบทอดจนเป็นหมู่บ้านภูมิปัญญาการทำเครื่องปั้นดินเผาจนถึงปัจจุบัน  
มีการจัดเป็นศูนย์สาธิตด้านกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดของชุมชนด้านภูมิ
ปัญญาการทำเครื่องปั้นดินเผา  เพื่อเยาวชนรุ่นหลังและผู้มาเยี่ยมชม

     

                  จุดเด่นของหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ  คือ  
หน้าร้านขายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอยู่ติดถนนทางหลวง
 จึงทำให้ผู้ที่สัญจรไปมาสามารถมองเห็นและแวะเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์
ที่หลากหลายและกลุ่มยังให้ความสำคัญในการต้อนรรบผู้ที่มาเยี่ยม
ชมสินค้าภายในร้านเป็นอย่างดี  คอยแนะนำผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดว่าเหมาะสำหรับงานใดบ้าง
  รวมทั้งยังมีการจัดให้มีการออกร้านตามงานต่างๆ ทั้งในจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดใกล้เคียง


           
                 
วัสดุที่ใช้ในการทำเครื่องปั้นดินเผาที่สำคัญ คือดินเหนียว 
โดยนำมาจากบึงบ้านแก่งซึ้งอญุ่ไม่ไกลจากหมู่บ้าน แต่เดิมต้องนำเกวียนไปบรรทุกมา
  แต่ในปัจจุบันมีรถนำดินมาส่งถึงบ้าน  ทรายได้จากท่าทรายของจังหวัดนครสวรรค์
 ดูดขึ้นจากลำน้ำปิงใกล้หมู่บ้าน  ส่วนฟืนนั้นนิยมใช้ไม้ไผ่เป็นเชื้อเพลิงเพราะหาได้ง่าย สะดวก


ขั้นตอนการทำเครื่องปั้นดินเผา
1 . การเตรียมดิน เมื่อขุดดินมาแล้วจะต้องทำการหมักดินก่อนประมาณ 6-7 วัน  
การหมักดินทำโดยการพรมนำตลอดเวลาเพื่อไม่ให้ดินแห้ง เมื่อพรมน้ำแล้วใช้
ผ้ายางคลุมเพื่อไม่ให้ความชื่นระเหย




2 . การนวดดิน  พอหมักดินแล้วจะนำดินมานวดโดยนำดินเหนียว 3 ส่วน ต่อทราย 1 ส่วน เข้า
เครื่องนวดดินจะนวด 2 ครั้งเพื่อให้ส่วนผสมเข้ากันได้ดี
3 . การขึ้นรูป ก่อนจะขึ้นรูปนำทรายมาโรยลงบนแป้นให้เป็นวงกลมเพื่อไม่ให้ดินติดกับแป้นไม้
 จากนั้นนำดินมาวางบนแป้นไม้แล้วยกแป้นไม้นั้นมาวางบนแป้นหมุน  การขึ้นรูปจะทำ
โดยการหมุนแป้นไม้ให้เกิดแรงเหวี่ยง  แล้วใช้มือรีดดินเพื่อขึ้นรูปเป็นภาชนะตามที่ต้องการ
ต่อจากนี้จะตกแต่งลวดลายตามขอบภาชนะตามใจชอบ  เมื่อขึ้นรูปเรีบยร้อยแล้วจะทิ้งไว้
ในร่มประมาณ 3 วัน  เพื่อให้ดินแห้งพอหมาด ๆ เสียก่อน ต่อจากนั้นจึงนำภาชนะเข้าสู่เตาเผา
4 . การเผา  ภาชนะที่ปั้นเสร็จและแห้งแล้ว  จะนำมาใส่เตาเพื่อเผาให้ดินสุก เตาเจะก่อตัวเป็น
รูปทรงกลม ข้างบนมีลักษณะโค้งเหมือนโดม  มีช่องสำหรับใส่ไฟ  การเรียงภาชนะในเตาเผา
ต้องเรียงสลับแบบฟันปลา  เพื่อให้ภาชนะโดนไฟอย่างทั่วถึงและเป็นการประหยัดเนื้อที่
 การเผาวันแรกต้องเริ่มจากการใส่เชื้อเพลิงทีละน้อยๆ เพื่อให้ภาชนะค่อยๆ ปรับตัว
ถ้าใส่ไฟแรงเกินไปภาชนะปรับตัวไม่ทันอาจแตกได้  ใช้เวลาเผา 3 วัน จึงนำภาชนะออกจากเตาเผา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น